รังสีอัลตราไวโลเลต
รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ รังสียูวี
(Ultraviolet) หรือในชื่อภาษาไทยว่า
รังสีเหนือม่วง เป็นช่วงหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นเดียวกับคลื่นวิทยุ
รังสีเอ็กซ์ รังสีแกมมา แสงแดด หรือ แสงสว่าง แต่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงที่มองเห็น แต่ยาวกว่ารังสีเอกซ์อย่างอ่อน
รังสียูวี(UV) เป็นรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากการแผ่ของดวงอาทิตย์
ซึ่งมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 100–400 nm มีพลังงานในช่วง 3-124
eV และมีความถี่ 1015-1217 Hz
ซึ่งตาของมนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ มีคุณสมบัติไม่แตกตัว (non-ionizing) รังสีอัลตราไวโอเลต เป็นช่วงรังสีที่อยู่ระหว่างชนิดรังสีที่แตกตัวได้
และแตกตัวไม่ได้ ประกอบด้วย 3 ชนิดความยาวคลื่น คือ
1.UVA
หรือเรียกชื่ออื่นว่า Long wave UVR หรือ Black
light ความยาวคลื่น 315 – 400 nm มีระดับพลังงาน
3.10-3.94 eV ซึ่งเป็นช่วงความยาวคลื่นที่สั้นที่สุด
จึงมีพลังงานมากที่สุดด้วย รังสี UVC เกือบทั้งหมดนี้จะถูกกรองที่ชั้นบรรยากาศของโลก
และถึงแม้จะมีปริมาณเพียงเล็กน้อย
ก็สามารถทำให้เกิดผื่นแดงและทำให้สีผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนได้
2.UVB
หรือเรียกชื่ออื่นว่า Middle UVR หรือ Sunburn
Radiation ความยาวคลื่น 280 – 315 nm มีระดับพลังงาน
3.94-4.43 eV ซึ่งเป็นช่วงความยาวคลื่น
ที่ทำให้เกิดผื่นแดงและไหม้เกรียมได้ เพราะมันสามารถทะลุผ่านผิวหนังชั้นสเตรตัม
คอร์เนียม (Stratum corneum) และอีพิเดอมีส (Epidermis)
ได้ รังสีนี้จะทำให้เกิดผลเสียต่อผิวหนังในทันทีเช่น
ผิวไหม้เกรียม ผื่นแดงเป็นต้น
3.UVC
หรือเรียกชื่ออื่นว่า Short wave UVR หรือ Germicidal
Radiation ความยาวคลื่น 100 – 280 nm มีระดับพลังงาน
4.43-12.4 eV รังสีช่วงนี้จะมีพลังงานต่ำสุด แต่มีอำนาจทะลุทะลวงผ่านชั้นผิวหนังได้ลึกที่สุด
และมีผลกระทบเป็นวงกว้างต่อโครงสร้างชั้นผิวหนัง รังสีนี้ในปริมาณน้อยก็สามารถทะลุผ่านชั้นหนังแท้
(Dermis) ได้ ซึ่งจะไปกระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานินได้มาก
และเมลานินนี้จะไปปกป้องผิวจากการถูกทำลายอีกต่อ
แหล่งกำเนิดของรังสีอัลตราไวโอเลต
1. การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ (solar radiation) ถือเป็นแหล่งกำเนิดสำคัญของการแผ่รังสีที่ส่องมาถึงโลก โดยประกอบด้วยรังสียูวีซี ยูวีบี และยูวีเอ รวมถึงช่วงคลื่นที่มนุษย์มองเห็น และรังสีอินฟาเรด แต่รังสีบางส่วนจะถูกดูดซับไว้ในชั้นบรรยากาศ ที่เหลือสามารถส่องมาถึงผิวโลกในระดับไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
พลังงานของช่วงคลื่นที่แผ่มาจากดวง อาทิตย์
ตั้งแต่ช่วงคลื่นสั้นต่างๆจนถึง 175
นาโนเมตร จะถูกดูดซับด้วยออกซิเจนในชั้นสตราโทสเฟียร์ที่ความสูงประมาณ
100 กิโลเมตร และพลังงานความยาวคลื่นตั้งแต่ 175 ถึง 280 นาโนเมตร
หรืออยู่ในช่วงคลื่นอัลตร้าไวโอเลตซี (UVC) จะถูกดูดชั้นโอโซนทำลาย
ซึ่งช่วงคลื่นเหล่านี้มีระดับพลังงานสูงหากผ่านมาถึงผิวโลกจะเป็นอันตรายต่อ
มนุษย์มาก แต่ปัจจุบันชั้นโอโซนถูกทำลายลงมากทำให้อัตราการแผ่รังสียูวีซี (UVC)
ลงมาถึงผิวโลกมีเพิ่มมากขึ้น สำหรับรังสีอัลตร้าไวโอเลตบี (UVB) และ รังสีอัลตร้าไวโอเลตเอ
(UVA) เป็นช่วงคลื่นที่ตามนุษย์มองเห็น และช่วงคลื่นรังสีอินฟาเรดจะสามารถเข้าสู่ผิวหนังของมนุษย์ได้
แต่จะไม่ถูกดูดซับไว้จึงไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ แต่รังสีอัลตร้าไวโอเลตเอ
และบี (UVA), (UVB) สามารถเข้าสู่ผิวหนัง
และถูกดูดซับไว้ โดยรังสี UVA จะเข้าสู่ผิวหนังลึกสุด
และดูดซับมากกว่ารังสี UVB รังสี UVB มีค่าพลังงานมากกว่ารังสี
UVA มีผลสามารรถทำลายดีเอ็นเอ (DNA) และเกิดมะเร็งผิวหนังได้
ส่วนรังสี UVA ถึงแม้จะมีระดับพลังงานต่ำกว่า
แต่สามารถแทรกสู่ผิวได้ลึกกว่า หากสัมผัสในระยะเวลานาน
และต่อเนื่องจะทำให้เซลล์ผิวหนังอ่อนล้า เสื่อมเร็ว แลดูเหี่ยวย่น
จนถึงระดับรุนแรงที่อาจเกิดเป็นเซลล์มะเร็งได้
2. แหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (artificial
sources) อันได้แก่วัตถุทุกชนิดที่ถูกทำให้ร้อน จนมีอุณหภูมิสูง มากกว่า 2500 องศาเคลวิน
สามารถปล่อยรังสีอัลตราไวโอเลตได้ ซึ่งเป็นวัตถุ
อุปกรณ์ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับการใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ อาทิ ทางการแพทย์
ทางการเกษตร เป็นต้น
รังสี ยูวี
หากได้รับในระดับต่ำจะมีประโยชน์ต่อการสร้างวิตามินดี
และช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกาย
แต่หากได้รับในปริมาณมากเกินความเป็นประโยชน์จะมีผลต่อการทำลายระบบภูมิคุ้ม กัน
การทำลายเนื้อเยื่อเซลล์
ทำให้ผิวหนังแลดูเหี่ยวหยุ่นจนถึงระดับรุนแรงกลายเป็นเซลล์มะเร็ง
การค้นพบรังสีอัลตราไวโอเลต
หลังจากที่รังสีอินฟราเรดถูกค้นพบ
นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่อ โยฮันน์ วิลเฮล์ม ริตเตอร์ (Johann
Wilhelm Ritter) ได้ทดลองค้นหารังสีที่อยู่ตรงข้ามกับรังสีอินฟราเรด
นั่นคือ รังสีอินฟราเรดมีความยาวคลื่นยาวกว่าแสงสีแดง
แต่ริตเตอร์ต้องการจะหารังสีชนิดหนึ่งที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าสีม่วง
เขาได้ใช้กระดาษอาบซิลเวอร์คลอไรด์วางไว้กลางแดด พบว่ากระดาษนั้นเปลี่ยนเป็นสีดำ
ริตเตอร์เรียกรังสีนี้ว่า Deoxidizing rays ต่อมาก็เปลี่ยนชื่อเป็นยูวีดังเช่นในปัจจุบัน
ชนิดย่อยของรังสีอัลตราไวโอเลต
สเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าของแสงเหนือม่วงสามารถแบ่งย่อยได้หลายวิธี
ร่างมาตรฐาน ISO
ที่กำหนดชนิดแสงเปล่งของดวงอาทิตย์ (ISO-DIS-21348) อธิบายช่วงเหล่านี้:
ชื่อ
|
ตัวย่อ
|
พลังงานต่อโฟตอน
|
|
UVA
|
400 nm - 315 nm
|
3.10 - 3.94 eV
|
|
ใกล้
|
NUV
|
400 nm - 300 nm
|
3.10 - 4.13 eV
|
อัลตราไวโอเลต บี หรือ คลื่นกลาง
|
UVB
|
315 nm - 280 nm
|
3.94 - 4.43 eV
|
กลาง
|
MUV
|
300 nm - 200 nm
|
4.13 - 6.20 eV
|
UVC
|
280 nm - 100 nm
|
4.43 - 12.4 eV
|
|
ไกล
|
FUV
|
200 nm - 122 nm
|
6.20 - 10.2 eV
|
สุญญากาศ
|
VUV
|
200 nm - 10 nm
|
6.20 - 124 eV
|
ไกลยิ่ง
|
121 nm - 10 nm
|
10.2 - 124 eV
|
ค่า SPT/SPF
SPT (self protection time) หมายถึง ระยะเวลาที่บุคคลสามารถตากแดดได้โดยไม่มีสิ่งปกป้องก่อนที่ผิวจะเริ่มแดง (มีหน่วยเป็นนาที)
SPT (self protection time) หมายถึง ระยะเวลาที่บุคคลสามารถตากแดดได้โดยไม่มีสิ่งปกป้องก่อนที่ผิวจะเริ่มแดง (มีหน่วยเป็นนาที)
SPF (self protection factor)/UPF (Ultraviolet
protection factor)หมายถึง
ค่าความสามารถของวัสดุในการป้องกันรังสียูวีด้วยการดูดซับหรือสะท้อนออกไปนอกวัสดุ
ค่า SPF
หรือ UPF ที่สูงจะแสดงถึงความสามารถในการดูดซับ
สะท้อนหรือป้องกันรังสียูวีในระยะเวลาได้นาน
ประโยชน์ของรังสีอัลตราไวโอเลต
รังสีอัลตราไวโอเลตอาจเป็นสิ่งที่ใครหลาย ๆ
คนต่างหลีกเลี่ยง
แต่รู้หรือไม่ว่าหากได้รับในปริมาณที่พอเหมาะจะให้ประโยชน์แก่ร่างกายมากกว่าโทษ
นอกจากนั้นทางการแพทย์ยังนำรังสีชนิดนี้มาใช้รักษาโรคกระดูกและโรคผิวหนังบางชนิด
โดยประโยชน์ของรังสีอัลตราไวโอเลต มีดังนี้
1.กระตุ้นการสร้างวิตามินดี รังสียูวีบีมีคุณสมบัติกระตุ้นให้ร่างกายสร้างวิตามินดี
ซึ่งเป็นวิตามินที่สำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือด กระดูก และภูมิคุ้มกัน
ทั้งยังช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากอาหารที่บริโภค
การออกมารับแสงแดดในช่วงเวลาที่เหมาะสมจึงเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตาม
ประเทศไทยเป็นบริเวณที่มีค่าชี้วัดความเข้มของแสงยูวีค่อนข้างสูง
จึงควรหลีกเลี่ยงแดดในช่วง 9.00-14.00 น.
เพราะจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย
2.รักษาโรคกระดูกและโรคผิวหนังบางชนิด การรรักษาโรคด้วยรังสียูวีควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น 00โรคที่แพทย์อาจแนะนำให้รักษาด้วยวิธีนี้ ได้แก่
àโรคด่างขาว เกิดจากเซลล์เมลาโนไซต์ (Melanocyte) ที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดสีผิวถูกทำลายหรือหยุดสร้างเม็ดสีผิว
ส่งผลให้ผิวหนังเกิดเป็นรอยด่างสีขาว ซึ่งรักษาได้ด้วย PUVA คือการใช้ยาซอลาเรน ที่มีคุณสมบัติทำให้ผิวหนังไวต่อรังสียูวี
จากนั้นจึงฉายรังสียูวีเอไปที่ผิวหนังผู้ป่วยเพื่อให้กลับมามีสีเข้มขึ้น
อย่างไรก็ตาม วิธีนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนังชนิดสะความัสเซลล์
(Squamous Cell Carcinoma: SCC) แต่พบได้น้อยในคนไทยเนื่องจากส่วนใหญ่มีผิวคล้ำ
àโรคสะเก็ดเงิน โรคที่คาดว่าเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดพลาดและไปกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังแบ่งตัวผิดปกติอย่างรวดเร็ว
ร่วมกับมีการอักเสบ ผู้ป่วยจะมีผื่นหนาสีแดงหรือสีเงินขึ้นตามร่างกาย
วิธีรักษาหนึ่งที่นำมาใช้ได้คือการฉายรังสียูวีเอร่วมกับการใช้ยาซอลาเรน
เช่นเดียวกับโรคด่างขาว
àLupus Vulgaris คืออาการหนึ่งของการติดเชื้อวัณโรคที่ผิวหนังซึ่งพบได้ไม่บ่อยนักในคนไทย
ส่งผลให้ผิวหนังมีลักษณะเป็นผื่นนูนขนาดใหญ่ มักขึ้นตามใบหน้าและลำคอ
รักษาได้ด้วยการฉายรังสียูวีบี แต่ในปัจจุบันมักรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเป็นหลัก
àโรคกระดูกอ่อนในเด็ก มักพบในเด็กที่มีอายุ 6 เดือน-3 ปี
สาเหตุหลักเกิดจากการขาดวิตามินดี แคลเซียม และฟอสเฟต ทำให้กระดูกไม่แข็งแรง
เจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ และมีลักษณะผิดรูป
แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยออกไปรับแสงแดดมากขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างวิตามินดี
รวมถึงรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดี เช่น ปลา ไข่ นม ตับ เป็นต้น
3.แบล็กไลต์ (black
light) เป็นหลอดที่เปล่งรังสียูวีคลื่นยาว
มีสีม่วงดำ ใช้ตรวจเอกสารสำคัญ เช่น ธนบัตร, หนังสือเดินทาง,
บัตรเครดิต ฯลฯ ว่าเป็นของจริงหรือปลอม
หลายประเทศได้ผลิตลายน้ำที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในรังสีชนิดนี้ นอกจากนี้ แบล็กไลต์ยังสามารถใช้ล่อแมลงให้มาติดกับ
เพื่อที่จะกำจัดภายหลังได้
4.หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดเรืองแสง ใช้หลักการผลิตรังสีอัลตราไวโอเลต โดยการทำให้ไอปรอทแตกตัว รังสีที่ได้จะไปกระทบสารเรืองแสงให้เปล่งแสงออกมา
5.ดาราศาสตร์ โดยปกติแล้ววัตถุที่ร้อนมากจะเปล่งยูวีออกมา เราจึงสามารถศึกษาวัตถุท้องฟ้าได้โดยผ่านทางยูวี ทว่าต้องไปปฏิบัติในอวกาศ เพราะยูวีส่วนมากถูกโอโซนดูดซับไว้หมด
6.การวิเคราะห์แร่ สามารถใช้ตรวจวิเคราะห์แร่ได้ แม้ว่าจะดูเหมือนกันภายใต้แสงที่มองเห็น แต่เมื่อผ่านยูวีแล้วก็จะเห็นความแตกต่างได้
7.การฆ่าเชื้อโรค สามารถใช้ฆ่าเชื้อโรคได้ โดยเฉพาะในน้ำดื่ม และยังสามารถนำไปฆ่าเชื้อในเครื่องมือ หรืออาหารได้ด้วย
4.หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดเรืองแสง ใช้หลักการผลิตรังสีอัลตราไวโอเลต โดยการทำให้ไอปรอทแตกตัว รังสีที่ได้จะไปกระทบสารเรืองแสงให้เปล่งแสงออกมา
5.ดาราศาสตร์ โดยปกติแล้ววัตถุที่ร้อนมากจะเปล่งยูวีออกมา เราจึงสามารถศึกษาวัตถุท้องฟ้าได้โดยผ่านทางยูวี ทว่าต้องไปปฏิบัติในอวกาศ เพราะยูวีส่วนมากถูกโอโซนดูดซับไว้หมด
6.การวิเคราะห์แร่ สามารถใช้ตรวจวิเคราะห์แร่ได้ แม้ว่าจะดูเหมือนกันภายใต้แสงที่มองเห็น แต่เมื่อผ่านยูวีแล้วก็จะเห็นความแตกต่างได้
7.การฆ่าเชื้อโรค สามารถใช้ฆ่าเชื้อโรคได้ โดยเฉพาะในน้ำดื่ม และยังสามารถนำไปฆ่าเชื้อในเครื่องมือ หรืออาหารได้ด้วย
ผลกระทบของรังสีอัลตราไวโอเลตต่อร่างกาย
หากได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตในปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน
อาจส่งผลกระทบต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนี้
1.ผลกระทบต่อผิวหนัง ตั้งแต่ปัญหากวนใจเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ผิวคล้ำแดด
ริ้วรอย ไปจนถึงอาการแพ้แดด ผิวไหม้จากแดด
และอาจรุนแรงถึงขั้นเป็นมะเร็งผิวหนังได้
àผิวคล้ำแดด เมื่อผิวหนังสัมผัสกับรังสียูวี
ร่างกายจะสร้างเม็ดสีเมลานิน (Malanin) ขึ้นมาเป็นเกราะป้องกันผิวหนัง
ทำให้ผิวมีสีคล้ำขึ้น เนื่องจากยูวีเอจะไปกระตุ้นการสร้างเม็ดสีของเซลล์ผิวชั้นนอก
ส่งผลให้ผิวคล้ำขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่จะกลับมาเป็นสีปกติได้ในเวลาไม่นาน
ส่วนยูวีบีนั้นไม่ทำให้ผิวคล้ำขึ้นในทันที แต่อาจเกิดขึ้นหลังจากผ่านไปแล้วประมาณ 3
วัน และใช้เวลานานหลายสัปดาห์จึงกลับเป็นปกติ นอกจากนี้
ยูวีบียังส่งผลให้ผิวชั้นหนังกำพร้าหนาขึ้นอีกด้วย
àผิวไหม้จากแดด เกิดขึ้นเมื่อได้รับรังสียูวีบีในปริมาณสูงจนทำให้เซลล์ผิวหนังชั้นนอกถูกทำลาย
ผู้ที่มีอาการรุนแรง ผิวหนังอาจลอก เป็นแผลพุพอง และรู้สึกเจ็บปวด
อีกทั้งเซลล์ผิวหนังที่ถูกสร้างขึ้นใหม่จะไวต่อรังสียูวีและบอบบางกว่าเซลล์ผิวเดิม
ส่วนผู้ที่อาการไม่รุนแรงจะมีเพียงผื่นแดงขึ้นบริเวณผิวหนังที่โดนแสงแดดและค่อย ๆ
หายเป็นปกติใน 2-3 วัน ทั้งนี้
การมีผิวไหม้จากแดดอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนังได้ด้วย
àริ้วรอย รังสียูวีเอเดินทางทะลุผ่านผิวหนังชั้นนอกไปยังชั้นหนังแท้
และส่งผลต่อกระทบต่อโครงสร้างของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันได้
ทำให้ผิวสูญเสียความยืดหยุ่น เป็นต้นเหตุของริ้วรอยและความหย่อนคล้อย
àอาการแพ้แดด เกิดกับผู้ที่ผิวหนังไวต่อรังสียูวี
แม้ได้รับในปริมาณเพียงเล็กน้อยก็ก่อให้เกิดอาการแพ้คล้ายผิวไหม้ได้
ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากอาหารที่บริโภค เครื่องสำอาง หรือยาบางชนิด เช่น ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์
ยาแก้ปวด ยาระงับประสาท ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคซึมเศร้า
ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน ก่อนใช้ยาใด ๆ
จึงควรอ่านฉลากหรือปรึกษาเภสัชกรถึงผลข้างเคียงทุกครั้ง
àมะเร็งผิวหนัง มีงานวิจัยอ้างว่ารังสียูวีทำให้เกิดอนุมูลอิสระที่เป็นอันตรายต่อเซลล์ในร่างกาย
นอกจากนั้น รังสียูวียังเข้าทำลาย DNA
ของเซลล์ผิวหนังได้โดยตรง
ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้
2.ผลกระทบต่อดวงตา ร่างกายสร้างอวัยวะและกลไกต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อปกป้องดวงตา
ไม่ว่าจะเป็นคิ้ว ขนตา หรือการหดและขยายรูม่านตา อย่างไรก็ตาม
กลไกเหล่านี้ป้องกันดวงตาจากรังสียูวีได้อย่างจำกัด
ผู้ที่ต้องเผชิญกับรังสียูวีปริมาณสูงอย่างต่อเนื่องอาจเกิดผลกระทบต่อดวงตา ดังนี้
àกระจกตาอักเสบและเยื่อบุตาอักเสบ มักเกิดขึ้นหลังจากได้รับรังสียูวีปริมาณสูงเพียงไม่กี่ชั่วโมง
ส่งผลให้ตาแดง แสบ คัน และระคายเคืองตาได้ ทั้งนี้ กระจกตาที่อักเสบรุนแรงอาจทำให้เซลล์ผิวชั้นนอกของลูกตาถูกทำลายจนมองไม่เห็นชั่วคราว
แต่ส่วนใหญ่ร่างกายจะสร้างเซลล์ขึ้นใหม่อย่างรวดเร็วและกลับมามองเห็นภายใน 2-3
วัน และขณะมีการผลัดเซลล์ที่ตายทิ้งจะส่งผลให้รู้สึกเจ็บปวดอย่างมาก
อีกทั้งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น น้ำตาไหล มีอาการระคายเคืองเรื้อรัง เป็นต้น
àต้อกระจก เกิดจากการมีโปรตีนสะสมและปกคลุมในเลนส์แก้วตา ทำให้การมองเห็นภาพขุ่นมัว
และอาจรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้
ซึ่งสาเหตุหลักการเกิดต้อกระจกเป็นเพราะการเสื่อมของเลนส์แก้วตาเนื่องจากอายุที่มากขึ้น
แต่รังสียูวีบีก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่อาจก่อให้เกิดต้อกระจกได้เช่นกัน
àต้อเนื้อ อาจเป็นผลกระทบในระยะยาวหากได้รับรังสียูวีอย่างต่อเนื่อง
เกิดขึ้นเมื่อแผ่นเนื้อบริเวณเยื่อบุตายื่นเข้าไปในตาดำ
หากแผ่นเนื้อนี้ขยายใหญ่ขึ้นอาจบดบังการมองเห็นและอาจต้องรักษาโดยการผ่าตัด
3.ผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน รังสียูวีอาจอันตรายต่อ DNA และส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
และเป็นปัจจัยก่อให้เกิดโรคมะเร็งตามมา นอกจากนี้
การได้รับรังสียูวีในปริมาณสูงยังส่งผลให้วัคซีนทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทั้งยังมีงานวิจัยอ้างว่ารังสียูวีบีส่งผลให้ร่างกายควบคุมไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเริมได้น้อยลง
ทำให้ผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคเริมมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ
การป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต
การป้องกันด้วยวิธีง่าย ๆ
อย่างถูกต้องเพียงไม่กี่วิธีอาจช่วยลดความเสี่ยงจากการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตได้
ดังนี้
1.หลีกเลี่ยงการออกแดดในช่วง 9.00-14.00
น. เนื่องจากมีความเข้มของรังสียูวีมากและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
หากจำเป็นต้องออกไปกลางแจ้งในช่วงเวลาดังกล่าว ควรทาครีมกันแดดทุกครั้ง ทั้งนี้
การอยู่ในที่ร่ม เช่น ภายในอาคาร หอพัก ห้างสรรพสินค้า
โดยเฉพาะบริเวณใกล้หน้าต่างหรือพื้นที่ที่แสงแดดส่องถึง
ไม่อาจช่วยป้องกันจากรังสียูวีได้เสมอไป จึงควรใช้วิธีอื่นร่วมด้วย เช่น
ทาครีมกันแดด สวมเสื้อแขนยาว เป็นต้น
2.สวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวผ้าทอที่รัดรูปและมีสีเข้ม เพราะมีประสิทธิภาพในการปกป้องร่างกายจากรังสียูวีมากกว่าเสื้อและกางเกงที่โปร่งบางและมีสีอ่อน
ปัจจุบันเสื้อผ้าบางยี่ห้อหันมาใช้สารเคลือบวัสดุสิ่งทอที่มีคุณสมบัติดูดซับรังสียูวี
ซึ่งจะระบุคุณสมบัติในการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตโดยใช้เลขตั้งแต่ 15 จนถึง 50+ ยิ่งตัวเลขมากเท่าไรก็ยิ่งแสดงถึงระดับการปกป้องที่มากตามไปด้วย
3.สวมหมวก เลือกหมวกที่มีปีกกว้าง 2-3
นิ้ว หรือหมวกแก๊ปที่มีผ้าคลุมต้นคอ เพื่อป้องกันคอจากแสงแดด
หากไม่มีอาจใช้ผ้าบางผืนใหญ่สวมไว้ใต้หมวกทดแทนได้
4.แว่นกันแดด ควรเลือกสวมแว่นกันแดดที่มีเลนส์ขนาดใหญ่และมีคุณสมบัติป้องกันรังสียูวีเอและยูวีบีได้
99-100 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งมักติดป้ายกำกับว่า “UV Absorption up to 400 nm” หรือ
“Meets ANSI UV Requirements” หากแว่นกันแดดมีคุณสมบัติป้องกันรังสียูวีได้เพียง
70 เปอร์เซ็นต์ จะติดป้ายว่าเป็นเครื่องสำอาง (Cosmetic)
ส่วนแว่นกันแดดที่ป้องกันรังสียูวีไม่ได้ อาจไม่มีป้ายกำกับไว้
ทั้งนี้ ความเข้มของสีเลนส์นั้นไม่ได้บ่งบอกถึงคุณสมบัติในการป้องกันรังสียูวีแต่อย่างใด
5.ร่ม ป้องกันรังสียูวีไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์
แต่มีงานวิจัยกล่าวว่าการใช้ร่มกันแดดร่วมกับการทาครีมกันแดดช่วยป้องกันร่างกายจากรังสียูวีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้ร่มเพียงอย่างเดียว
6.ครีมกันแดด คือผลิตภัณฑ์ปกป้องผิวจากรังสียูวี
โดยมีหลายรูปแบบให้เลือกทั้งชนิดครีม เจล แท่ง สเปรย์
ควรเลือกครีมกันแดดที่มีค่าป้องกันรังสียูวีบี (Sun Protection Factor: SPF) ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป ทาในปริมาณที่เพียงพอและทาซ้ำทุก
ๆ 2 ชั่วโมง ทั้งนี้
ครีมกันแดดอาจหลุดลอกและมีประสิทธิภาพลดลงได้หากผิวหนังสัมผัสน้ำ ดังนั้น
การเลือกใช้ครีมกันแดดที่มีคุณสมบัติกันน้ำอาจช่วยคงประสิทธิภาพในการป้องกันรังสียูวีไว้ได้
7.หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องทำผิวแทนและหลอดไฟแสงยูวี รังสียูวีจากอุปกรณ์สร้างรังสียูวีนั้นส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ไม่ต่างจากรังสียูวีจากแสงอาทิตย์
นอกจากนี้ ในปัจจุบันหลอดไฟแสงยูวียังถูกนำมาใช้งานในหลายด้าน เช่น การทำเล็บเจล
ซึ่งแม้จะมีปริมาณรังสียูวีไม่มาก
แต่ก็ควรป้องกันด้วยการทาครีมกันแดดทุกครั้งก่อนใช้อุปกรณ์เหล่านี้
วีดีโอประกอบความเข้าใจ
เว็บไซต์อ้างอิง
ขอบคุณมากนะคะ เข้าใจขึ้นเยอะ
ReplyDeleteขอบคุณมากๆเลยนะคะ
ReplyDeleteได้ข้อมูลเยอะมากเลยค่ะ
ReplyDeleteมีประโยชน์มากเลยค่ะ ขอบคุณนะคะ
ReplyDeleteเข้าใจขึ้นเยอะเลยยยย:)
ReplyDeleteมีประโยชน์มากค่าา
ReplyDeleteมีประโยชน์มากเลยค่ะะ👍
ReplyDeleteมีประโยชน์มากๆ
ReplyDeleteชอบมากค่ะ/
ReplyDeleteเนื้อหาอ่านง่ายดีค่า
ReplyDelete